- Lifestyle
กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ? ใยนำกีฬาโยง “การเมือง-เชื้อชาติ”
By ทีมงาน bsite • on Jul 23, 2018 • 1,652 Views
“..I am German when we win, but I am an immigrant when we lost.” Mesut Ozil
อีกหนึ่งข่าวใหญ่หลังจบฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย เมื่อมีรายงานว่า Mesut Ozil นักเตะทีมชาติเยอรมันเชื้อสายตุรกี ตัดสินใจประกาศลาออกจากทีมชาติ หลังจากมีความรู้สึกว่าถูกสังคมตัดสินในเรื่องเชื้อชาติและปัญหาการเมือง
Mesut Ozil เขายังเป็นผู้เล่นของทีมปืนใหญ่อาร์เซนอล สโมสรดังของประเทศอังกฤษอีกด้วย ทั้งนี้ ชนวนเหตุที่เกิดขึ้นมาจากการที่เขาถูกวิจารณ์อย่างหนักถึงการถ่ายภาพร่วมกับ Recep Tayyip Erdogan ประธานาธิบดีตุรกี ผู้นำทางการเมืองที่มีปัญหาเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน
สำหรับการอำลาทีมชาติครั้งนี้ Ozil ออกแถลงการณ์เนื้อหายาวเหยียดใน ทวิตเตอร์ ยืนยันว่าไม่ได้ทำอะไรผิดเลยในการรับใช้ทีมชาติ โดยสรุปใจความได้ว่า เขาทำใจไม่ได้ที่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นคนเยอรมันเสียที แม้ว่าเขาจะรับใช้ชาติในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติมานาน และการถ่ายภาพร่วมกับประธานาธิบดีตุรกี ก็เป็นเพียงแค่การถ่ายภาพร่วมกับผู้นำของประเทศเชื้อชาติของตัวเองเท่านั้น ไม่ได้มีความหมายอย่างอื่นใด
“เป็นเรื่องทำใจได้ยากยิ่งหลังจากใคร่ครวญมาอย่างหนักถึงเหตุการณ์ในระยะหลัง ผมคงเล่นให้ทีมชาติเยอรมนีต่อไปไม่ได้แล้ว ในเมื่อผมรู้สึกถูกเหยียดเชื้อชาติและไม่ให้เกียรติกัน ผมเคยภูมิใจและตื่นเต้นที่ได้ใส่เสื้อทีมชาติเยอรมันแต่ตอนนี้ไม่อีกแล้ว” ในแถลงการณ์ระบุ
The past couple of weeks have given me time to reflect, and time to think over the events of the last few months. Consequently, I want to share my thoughts and feelings about what has happened. pic.twitter.com/WpWrlHxx74
— Mesut Özil (@MesutOzil1088) July 22, 2018
II / III pic.twitter.com/Jwqv76jkmd
— Mesut Özil (@MesutOzil1088) July 22, 2018
III / III pic.twitter.com/c8aTzYOhWU
— Mesut Özil (@MesutOzil1088) July 22, 2018
นอกจากนี้ คำพูดหนึ่งที่น่าจะสะท้อนความรู้สึกของเขาออกมาได้เป็นอย่างดี ได้แก่ ประโยคที่ว่า “..I am German when we win, but I am an immigrant when we lost.” ซึ่งมีความหมายว่า “ผมเป็นคนเยอรมันก็ต่อเมื่อชนะ แต่จะกลายเป็นผู้อพยพทันทีเมื่อแพ้”
ด้าน Oliver Bierboff ผู้อำนวยการของทีมชาติเยอรมนี กล่าวถึงประเด็นร้อนนี้ว่า อาจมีผลต่อการจัดทีมของ Joachim Löw หลังจากที่ Ozil ลาออกอย่างแน่นอน
สำหรับ Ozil เกิดที่เมืองเกลเซนเคียร์เชิน ฝั่งเยอรมนีตะวันตก แม้พ่อแม่เป็นชาวตุรกี แต่ก็เกิดและเติบโตที่เยอรมัน เป็นตัวเล่นหลักในรุ่นนักเตะยุคทองของทีมอินทรีเหล็ก เริ่มจากคว้าแชมป์ยูโรเปียน ในชุดยู-21 ปี 2009 ติดทีมชาติมา 92 ครั้ง ยิงมาแล้ว 23 ประตู และมีส่วนช่วยให้เพื่อนทำประตู 40 ประตู เคยร่วมทีมชาติชุดคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล
อีกหนึ่งเคส ชัยชนะ ฝรั่งเศส หรือ แอฟริกัน ?
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับปมเรื่อง “เชื้อชาติ” กับ “ฟุตบอล” ก็มีปัญหาก่อนหน้านี้ เกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน โดย Trevor Noah ผู้ดำเนินรายการ The Daily Show ก็ออกมาเล่นมุกตลกแซวชัยชนะของทีมชาติฝรั่งเศสในศึกฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซียว่า แท้ที่จริงแล้วคือ “ชัยชนะของทีมชาติแอฟริกัน” ต่างหาก เพราะว่าทีมชาติฝรั่งเศสมีผู้เล่นที่มีเชื้อสายแอฟริกันอยู่ถึง 15 คน และมีอีก 2 คนที่เกิดในทวีปแอฟริกา
ซึ่งหลังจากพูดเรื่องนี้ออกไป ก็สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับคนฝรั่งเศส จนทำให้ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสหรัฐฯ ส่งจดหมายถึงเขาโดยตรง โดยระบุว่า การรวมทีมชาติฝรั่งเศสสะท้อนถึงความหลากหลายของเชื้อชาติที่ไม่มีการแบ่งแยก และเมื่อเป็นคนฝรั่งเศสแล้วก็จะไม่แยกกันระหว่างเชื้อชาติหรือศาสนา แต่พวกเราทุกคนคือชนชาติเดียวกันแล้ว จึงไม่มีการแบ่งแยกอย่างที่คนอื่นเข้าใจ
Trevor Responds to Criticism from the French Ambassador
The French ambassador to the U.S. Gérard Araud didn’t like that I congratulated Africa on France’s World Cup victory. Here’s my response:
โพสต์โดย Trevor Noah เมื่อ วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2018
กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส (จริงหรือ)
ทั้ง 2 กรณีเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เราเห็นได้ว่า บางครั้งปัญหา การเมือง เชื้อชาติ หรือแม้แต่ศาสนา ก็ละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง กินเข้าไปถึงพื้นที่ของ “กีฬา”
ทั้งๆ ที่จุดมุ่งหมายสูงสุดของ “กีฬา” คือการสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาติต่างๆ ร่วมกัน รวมทั้งสอนเรื่องสปิริต ความมีน้ำใจนักกีฬา และจิตวิญญาณของแฟร์เกมส์ แต่กลับกลายเป็นว่าถูกหลายฝ่ายนำมาโยงกับปัญหาต่างๆ มากมายเพื่อเอามาใช้ห้ำหั่นกัน แล้วยึดถือเรื่องของชัยชนะเป็นสำคัญ จนลืมเลือนแก่นที่แท้จริงของวัตถุประสงค์ในการจัดงาน
หลายคนมองการติดทีมชาติ เสมือนการรับใช้ชาติเพื่อออกไปสู้รบ ทำสงคราม ปกป้องบ้านเมืองจากข้าศึกรุกราน แต่ลืมนึกไปว่านี่คือ “กีฬา” คือการสร้างสรรค์มิตรภาพระหว่างประเทศร่วมกัน ใครที่มีความขัดแย้งก็ให้เอากีฬามาเชื่อมความสัมพันธ์สร้างมิตรภาพร่วมกันต่อไปข้างหน้า นั่นต่างหากคือเป้าประสงค์ที่แท้จริงของ “กีฬา” หรือมิใช่.
Credit ภาพ CNN
ABOUT THE AUTHOR
ทีมงาน bsite
Biographical Info