- Money
ฤดูยื่นภาษีมาถึงแล้ว? อัพเดทข้อมูลน่ารู้ ลดหย่อนภาษีปี 61
By Sanook D Pipat • on Jan 28, 2019 • 2,332 Views
การคำนวณหาเงินได้สุุทธิของตัวเอง เราต้องหักค่าลดหย่อนต่างๆ ออกจากรายได้ในปีนั้นก่อน นอกจากรายการลดหย่อนภาษีที่เหมือนกับปี 2560 แล้ว ในปี 2561 ยังมีเพิ่มเติมค่าลดหย่อนเข้ามาอีกหลายประเภท เช่น ค่าลดหย่อนการคลอดบุตร การท่องเที่ยวเมืองรอง เราลองไปเช็คเงื่่อนไขของแต่ละรายการกัน
กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
1.ค่่าลดหย่อนส่วนบุคคล
ใช้ลดภาษีเงินได้ 60,000 บาท ทันทีที่เรายื่นภาษี
2.ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีรายได้
ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000บาท สำหรับสามี ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส โดยคุ่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกมาคำนวณภาษีพร้อมกัน ไม่ได้แยกยื่นแบบ
3.ค่าลดหย่อนบุตร
ค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรตามกฎหมายสามรหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน หากเป็นบุตรบุญธรรม สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน หากมีบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฏหมายให้นำบุตรชอบด้วยกฏหมายทั้งหมดมาดักก่อนแล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหักรวมไม่เกิน 3คน และกรณีที่มีบุตรชอบด้วยกฏหมายที่มีชีวิตอยู่รวมกัน 3คน จะนำบุตรบุญธรรมมาหักรวมไม่ได้
บุตรที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ
-บุตรที่มีอายุระหว่างแรกเกิดจนถึง 20ปี ในปีภาษีนั้น
-บุตรมีอายุระหว่าง21-25ปีในปีนั้น ต้องกำลังศึกษาในระดับปวส ขึ้นไป
– ถ้าบุตรมีอายุ 25ปีขึ้นไปในปีภาษีนั้น ต้องเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
-บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น30,000 บาทขึ้นไป
4. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ลดหย่อนจากบิดามารดาตนเองและคู่สมรสได้คนละ 30,000บาท มากสุดคือไม่เกิน 4 คนไม่เกิน 120,000บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
-บิดามารดา ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000บาทในปีภาษีนั้น
-หากเป็นบิดามารดา ของคู่สมรส จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ก็ต่อเมื่อคู่สมรสต้องไม่มีรายได้
5. ค่าอุปการะคนพิการหรือทุพพลภาพ
-สามารถลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 60,000 บาทผู้พการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฏหมายหรือ เป็นคนทุพพลภาพที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
6.ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
เป็นค่าลดหย่อนที่เพิ่มขึ้นมาในปีนี้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
– หากจ่ายค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตรหลายคราวในปีภาษีเดียวกันลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท
-กรณีคลอดบุตรแฝด สามารถหักค่าลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท
-สามารถนำค่าใช้จ่ายการฝากครรภ์และคลอดบุตรมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดหรือไม่
-สามีใช้ลดหย่อนภาษีค่าบุตรไก้ไม่เกิน 60,000 บาท
-กรณีสามีและ ภรรยา มีเงินได้ทั้งคู่จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาาีได้ 2 กรณีคือ
1.สามีภรรยา แยกยื่นภาษีภรรยาจะเป็นผู้ใช้สิทธ์ได้ไม่เกิน 60,000 บาท
2.สามีภรรยายื่นแบบเสียภาษีรวมกันสามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาท สิทธิการลดหย่อนภาษีดังกล่าวเมื่อนำไปรวมกับสิทธิการเบิกจ่ายค่าฝากครรภ์และการคลอดบุตรจากสวัสดิการภาครัฐและเอกชนต้องไม่เกิน 60,000 บาท
7. ค่าลดหย่อนบุตรคนที่2 เป็นต้นไป
หากมีบุตรคนที่ 2ที่คลอดในปี2561 สามารถนำมาหักลดภาษีได้เพิ่ม 30,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาทต่อคน ไม่ว่าบุตรจะมีชีวิตอยู่หรือไม่
กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
1. ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริงเ สูงสุด9,000 บาท
2. เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
3. เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
4. เบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
5. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
7. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
8. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
9. กองทุนครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
10. กองทุนการออมแห่งชาติ ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุด 13,200 บาท
กลุ่มค่าลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
1. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
2. การซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (บ้านหลังแรก)
กลุ่มเงินบริจาค
1. เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง
2. เงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค
3. เงินบริจาคเข้ากองทุนวิจัยและนวัตกรรม 4 กองทุน (กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์, กองทุนสนับสนุนการวิจัย, กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา และกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข) ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค
4. เงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค
ทั้งหมดรวมกันต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
5. เงินบริจาคช่วยเหลือเหตุอุทกภัย ลดหย่อนได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาคจริง
6. เงินบริจาคทั่วไป
7. เงินบริจาคให้พรรคการเมือง (รอประกาศใช้)
กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- การท่องเที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ช้อปช่วยชาติ 2561 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ที่กล่าวมาข้างต้นกับค่าลดหย่อนภาษี ประจำปี 2561 คนที่ต้องการลดหย่อนภาษีข้อใด
อย่าลืมเก็บเอกสารสำคํญๆยื่นต่อกรมสรรพากรในช่วงต้นปี2562 ได้
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat