- Lifestyle
ควรรู้!! ปัญหาขยะล้นโลก…วิธีจัดการและรับมือที่เริ่มได้จากสองมือของเรา
By Sanook D Pipat • on Jan 31, 2019 • 9,928 Views
ปัญหาขยะ กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ อันเป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงมาจากความเจริญ การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันและการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้สิ่งที่ไม่ต้องการถูกโยนทิ้งเป็นขยะ สร้างมลภาวะต่อโลกและความเป็นอยู่ของมนุษย์ชนิดที่คืบคลานเข้ามาหาเราอย่างช้าๆ แบบไม่รู้ตัว
ปัญหาขยะส่งผลให้เปิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งเกิดจากชุมชนต่างๆมีขยะมาก และกำจัดขยะด้วยการเผาไหม้ จึงเกิดผลกระทบตามมา
เมื่ออากาศเสียทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคเกี่ยวกับการไหลเวียนของโลหิต ผลที่เกิดในระยะยาวอาจทำให้ถึงตายได้นอกจากนี้ยังกระทบต่อมลพิษทางน้ำ ทำให้น้ำมีสีและกลิ่นเน่าเสีย ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคและบริโภคได้ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและบริเวณใกล้เคียง ทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติ เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอนามัย เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุของเชื้อโรค และเป็นพาหะนำโรคต่างๆสู่คน
ไทย คือ 1 ใน 10 ประเทศแห่งการทิ้งขยะลงทะเล
นิตยสารวิทยาศาตร์ ‘sciencemag’ ได้มีการรายงานผลการจัดอันดับประเทศที่มีอัตราการทิ้งขยะลงน้ำมากที่สุดในโลก เพื่อหาที่มาของขยะที่อยู่ในมหาสมุทร โดยประเทศจีนคือตัวการอันดับ 1 และ ประเทศไทยติดอยู่อันดับที่ 6 ทิ้งขยะพลาสติกลงในมหาสมุทร มากที่สุด โดยรายงานดังกล่าวระบุว่าปัญหาขยะนี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในอีก 10 ปีข้างหน้า
โดยในหลายพื้นที่ในไทยและหน่วยงานเอกชน เริ่มมีความตระหนักในการลดปริมาณขยะด้วยการลดใช้ถุงพลาสติก มีการจัดแคมเปญงดแจกถุงในห้างสรรพสินค้าทุกวันที่ 4 ของเดือน รวมถึงมีการนำเงินส่วนต่างจากการงดรับพลาสติกเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคทำให้ผู้ที่ไม่รับถุงได้บุญอีกต่อหนึ่ง ถือเป็นก้าวความคิดที่เริ่มเห็นปัญหาต่อขยะในสังคมไทย แต่ทั้งนี้เรามักจะเห็นว่า การตระหนักรู้เรื่องดังกล่าวมักจะเป็นกระแสในช่วงสั้นๆ แต่ไม่ได้ถูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในไทยแบบจริงจัง
กำจัดขยะง่ายๆและถูกวิธีโดยเริ่มจากตัวเรา
1. ขยะย่อยสลายหรือขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้(ขยะเปียก) เช่น เศษผัก ผลไม้ เศษอาหารต่างๆ
ถ้าบ้านมีเนื้อที่ ขุดหลุมเพื่อฝังกลบ ย้ายไปเรื่อยๆ ส่วนเศษผัก ผลไม้ วางใต้ต้นไม้ใช้เป็นปุ๋ย หากที่บ้านมีเนื้อที่น้อย ควรนำถังมีฝาปิดรวบรวมใส่ถังทำน้ำหมักชีวภาพราดน้ำEM ใช้ทำปุ๋ยหมักได้ ที่สำคัญเราควรทำอาหารให้พอดีทานในครอบครัว จะได้ทานหมดลดขยะได้ไปในตัว
2. ขยะรีไซเคิลหรือขยะมูลฝอย(ขยะแห้ง)ที่ยังใช้ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ต่างๆเช่น ขวดแก้ว ขวดน้ำดื่ม เศษโลหะกระป๋องอลูมิเนียม กระดาษ สามารถจัดการได้ ง่ายนิดเดียวคือ คัดแยกตามประเภทใส่ถุงดำ เมื่อได้ปริมาณมากจึงนำไปขาย
หรือ ใช้ถุงผ้าแทนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยากเช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟม หรือถุงพลาสสิกที่ได้มาจากร้านต่างๆเก็บรวบรวมไว้ใช้ซ้ำได้
3. ขยะอันตราย หรือขยะมูลฝอยอันตราย ขยะปนเปื้อน หรือมีส่วนประกอบของวัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หลอดไฟ
เก็บรวบรวมแยกทิ้งถังสีแดงเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อคนรอบข้างและเป็นการลดมลภาวะอันเกิดจากการกำจัดที่ผิดวิธี
เปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน
จากสิ่งของเหลือทิ้งซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการแยกขยะ ในขณะที่เราทิ้งเงินลงถังขยะ แต่มีอีกหลายคนสร้างรายได้จากการเก็บขยะขาย จากขยะที่เราทิ้งไป ซึ่งจะมีอาชีพที่รองรับคือ ธุรกิจรับซื้อขยะ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ รับซื้อขยะรีไซเคิลจากรายย่อย และคัดแยกประเภทให้เป็นหมวด จากนั้นส่งต่อให้โรงงานรายใหญ่เพื่อนำเข้าสู่ขบวนการรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ นับว่าเป็นธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาขยะล้นเมืองได้อีกทางเป็นอย่างดีทีเดียว
แต่ทั้งนี้หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าการแยกขยะแต่ละประเภท แม้จะเริ่มจากตัวเราได้ก็จริง…แต่เมื่อพนักงานเก็บขยะมาเก็บก็จะถูกนำไปรวมกันอยู่ดี การกำจัดก็ถูกนำไปเผา หรือฝังกลบรวมกัน ทำให้ การคัดแยกขยะที่เราทำตั้งแต่ตอนต้นไม่ได้ประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของนโยบายการเก็บขยะ เทศบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบ น่าจะมีการผลักดันและเข้มงวดให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่านี้
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat