- Lifestyle
อันตรายจากการเสพติดโทรศัพท์มือถือ ปรับพฤติกรรมรู้ไว้ก่อนสาย
By Sanook D Pipat • on Mar 28, 2019 • 4,949 Views
ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยที่หลายคนไม่รู้เลยว่ายังมีอันตรายแฝงมาอยู่นั่นคือ รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือ เป็นคลื่นความร้อนทำลายเซลล์ดีได้หลายชนิด แต่จะมีปริมาณที่น้อยกว่าในไมโครเวฟเท่านั้น ซึ่งรังสีไมโครเวฟสามารถทำลายเซลล์ประสาทหรือแม้กระทั่งเซลล์ตัวอ่อนในครรภ์มารดา เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเลือดและยังเป็นสาเหตุระบบคุ้มกันอ่อนแอ
หน่วยงานวิจัยเทคโนโลยีของโทรศัพท์ไร้สายหรือ WTR(Wireless Technology Research) ได้ทำการศึกษาผลข้างเคียงจากการใช้โทรศัพท์มือถือและมีรายงานต่อสาธารณชนว่า รังสีไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือนั้น มีฤทธิ์ทำลายพันธุกรรมในเม็ดเลือด สิ่งที่น่ากลัวก็คือการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลานานๆต่อเนื่อง มีโอกาศเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกในสมองซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งจากสวีเดน
ดร.เล็นนาร์าท ฮาร์เดลล์ กล่าวไว้ว่า รังสีไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นมะเร็งในสมองหรือเนื้องอกในสมองสูงถึง 2.5 เท่าและสิ่งที่สำคัญคือในเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีจะสามรถดูดซับรังสีนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า และการใช้โทรศัพท์ในช่วงแบตใกล้จะหมดจะเป็นช่วงอันตรายที่สุด รวมถึงการชาร์จแบตไป ใช้โทรศัพท์ไป การนำโทรศัพท์มือถือวางไว้ใกล้ๆขณะนอนหลับเช่นการเปฺิดเพลงฟังเพื่อกล่อมนอน การเปิดธรรมะฟังก่อนนอน เป็นต้น
ผลเสียจากการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
-เกิดความเครียด : การใช้โทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา นั่นหมายถึงเราจะต้องตรียมตอบข้อความจากช่องทางต่างๆเช่น ไลน์ อีเมล เฟซบุ๊คอยู่ตลอดเวลา อาจทำให้เกิดความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัว
-จอประสาทตาถูกทำลาย : แสงสีฟ้าจากจอสมาร์ทโฟน สามารถทำลายจอประสาทตาได้ จนนำไปสู่จอประสาทตาเสื่อมได้
-รบกวนการนอนหลับ : แสงจากจอโทรศัพท์ ส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน เมลาโทนิน ที่ช่วยการควบคุมการนอนหลับและการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวขึ้นอยู่กับแสงสว่างจากโทรศัพท์เป็นสำคัญเป็นสาเหตุให้เรานอนไม่เต็มอิ่ม
-อาการปวดคอ : การก้มมองจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน เป็นท่าที่ไม่เหมาะสมคือ การก้มคอลง 60 องศานานๆนั้นทำให้เกิดอาการปวดคอและต้นคอได้
-เสียสมาธิ : แทนที่จะทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ลุล่วงไปด้วยดี ก็ต้องมาพะวงกับการเสียงแจ้งเตือนที่คอยเตือนต่างๆ ให้เสียเวลามาตอบข้อความต่างๆเหล่นนี้ จนขาดสมาธิที่ทำการใดๆ
-อาการนิ้วล็อก : การใช้นิ้วมือกดแป้นพิมพ์ การเล่นเกมส์นานเกินไปทำให้เส้นเอ็นอักเสบเกิดอาการบวม นิ้วล็อกได้ในที่สุด
-อาการปวดศีรษะ : การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน รังสีที่แผ่ออกมาทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมาเช่น การปวดศีรษะ ไมเกรนเป็นต้น
-ซึมเศร้าและวิตกกังวล : การใช้โทรศัพท์มือถือจนติด มักจะมีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลตามมาได้ เนื่องจากการรอคอยและคาดหวังการตอบกลับข้อความต่างๆ
ข้อควรปฎิบัติการใช้โทรศัพท์มือถือ
ใช้มือถือให้ปลอดภัยขึ้นอยู่กับตัวเราเองมีวินัยมากน้อยแค่ไหนโดยเฉพาะเด็กๆเพราะเขามีความไวต่อรังสีจากโทรศัพท์มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า เช่น การกำหนดเวลาให้เด็กๆเล่นเกมส์ได้เป็นเวลาเท่าใด การตั้งกฎขึ้นตั้งแต่เริ่มแรกให้เด็กๆใช้โทรศัพท์ การหากิจกรรมให้เด็กทำโดยเฉพาะช่วงปิดเทอมนี้และยังมีวิธีใช้มือถือให้ปลอดภัยอีก เช่น
1.การใช้อุปกรณ์หูฟังขณะใช้โทรศัพท์ ทำให้สมองได้รับคลื่นแม่เหล็กน้อยลง
2.ขณะมีเสียงเรียกเข้าควรกดรับให้ไกลตัว เพื่อลดพลังงานของแม่เหล็กจากโทรศัพท์
3.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ
4.ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ เพราะจะทำให้ขาดสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้
5.ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะเติมเชื้อเพลิง เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้
6.กำหนดเวลาในการใช้โทรศัพท์
7.ไม่ควรใช้โทรศัพท์ก่อนนอน และวางโทรศัพท์ไว้ตัวในขณะนอนหลับ
8.หากิจกรรมทดแทนการนั่งจ้องโทรศัพท์มือถือเช่น การปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์หากมีพื้นที่เช่นการเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาเป็นต้น
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ การง่วนอยู่กับการส่งข้อความ การโทรศัพท์พูดคุยเป็นเวลานาน สมารถบั่นทอนทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ นำไปสู่ความอ่อนล้า เกิดความเครียดและการเกิดโรคต่างๆตามมา ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ตัวเราเองเป็นผู้กำหนดเองได้ว่า ควรใช้โทรศัพท์อย่างไรให้ปลอดภัยกับตัวเรานั่นเอง
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat