- Lifestyle
หมอยา เปิดตำราแพทย์พื้นบ้าน ภูมิปัญญารักษาแบบไทยๆ
By Sanook D Pipat • on Mar 06, 2019 • 4,276 Views
ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง เป็นละครที่ปลุกกระแสยาสมุนไพรและแพทย์แผนไทยให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง วันนี้เพื่อให้เข้ากับกระแส เราขอพาทุกคนมารู้จักกับเรื่องราวความเป็นมาของหมอยา ผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยรักษาโรคให้คนไทยมาอย่างยาวนาน
หมอยาหรือหมอพื้นบ้าน คือชื่อเรียกของผู้ที่มีประสบการณ์ การรักษาผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยบวชเรียนมาก่อน โดยหมอยาเหล่านี้จะนำความรู้มาจากตำราบันทึก จึงมีความรู้พื้นฐานตามแนวศาสนาพุธร่วมกับประสบการณ์การรักษาโรคผสมผสานกับความรู้การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น
จากยุครุ่งเรืองในอดีต
ในยุคสุโขทัยพอจะสันนิฐานได้ว่าน่าจะมีหมอยาพื้นบ้านทั่วไป ทำหน้าที่ดูแลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วยส่วนมากก็จะเป็นพระสงฆ์ที่ใช้ประสบการณ์การรักษาควบคู่กับความรู้การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่นเท่านั้น เรื่อยมาจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรืองมาก มีการบูรณาการองค์ความรู้และการแบ่งสาขาการให้บริการ เริ่มมีการตั้งเป็นกรม เช่น กรมหมอนวด กรมหมอยา และหมอกุมาร หมอหลวง สมัยนั้นจะมีย่ามแดงและตะบองแดง มีป่ายาและกฏหมายคุ้มครองป่าและหมอยานี้สามารถใช้ตะบองชี้เก็บยาได้ทั่วแผ่นดิน มีการวิวัฒนาการนวดพื้นบ้านจนเป็นการนวดแบบราชสำนัก มีการจัดทำบันทึกคัมภีร์และตำรามากมาย แต่ในที่สุดกรุงศรีอยุทธยาได้ถูกเผาลงเนื่องจากเสียกรุงให้พม่าและพม่าได้นำเอาคัมภีร์และ ตำราต่างๆกลับไปด้วย โดยมิได้เผาทำลายอย่างที่เข้าใจกัน
ถือกำเนิดมหาวิทยาลัยแห่งแรก
ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคทองของแพทย์แผนไทยก็กลับมาอีกครั้งหนึ่ง มีการรวบรวมองค์ความรู้จากทุกหัวเมือง คัดเลือกเอาแต่เฉพาะสิ่งที่ดีที่สุดและได้จารึกไว้ในศิลาจารึก ตามศาลารายวัดโพธิ์ นับว่าวัดโพธฺ์เป็นมหาลัยแห่งแรกของเมืองไทยและสาธารณสุขมูลฐานได้เกิดขึ้นแล้วในสมัยนี้ มีการเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนและมาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ก่อนที่จะนำไปจารึกไว้ต้องมีพิธีสาบานจากหมอยาผู้ใช้ตำรับยานั้นว่า ใช้ได้ผลดีจริงๆหากว่าไม่จริงขอให้มีอันเป็นไป นับเป็นวิธีเดียวในสมัยนั้น ที่จะทำมาตรฐานแพทย์ไทยในสมัยนั้น(แพทย์ที่รับราชการในสมัยนี้เรียกว่า หมอหลวง หมอที่รักษาราษฏรทั่วไปเรียกว่า หมอราษฏร หรือ หมอเชลยศักดิ์) ที่พบมากที่สุดคือ ตำรานวดฤาษีดัดตน เป็นพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทำให้องค์ความรู้แพทย์แผนไทยอยู่คู่คนไทยจนถึงทุกวันนี้
การเข้ามาของแพทย์แผนตะวันตก
ในสมัยรัชกาล4,5 เริ่มมีอิทธิพลของการแพทย์ตะวันตกผ่านเข้ามาทางมิชชันนารีเช่นเรื่องของการผ่าตัดอาจมีการเสื่อมสูญลงจึงได้นำเข้ามาสอนในโรงเรียนแพทย์แต่ก็ไม่สามารถผสมผสานกับแพทย์แผนตะวันตกได้และได้ยกเลิกการเรียนแพทย์แผนไทยในโรงเรียนแพทย์ในที่สุดและในสมัยรัชกาลที่ 6,7ได้มีการออกกฏหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะขึ้น ส่งผลกระทบต่อแพทย์แผนไทย ทำให้หมอโบราณเลิกประกอบอาชีพหมอยาไปการแพทย์แผนไทยก็ได้ตกต่ำลงและใน สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งศิริราชพยาบาลขึ้นมา(ปัจจุบันโรงพยาบาลศิริราช)เพื่อเป็นสถานที่ในการเรียนการสอนแพทย์แผนโบราณร่วมกับแพทย์แผนตะวันตก และได้มีการพิมพ์ตำราแพทย์ครั้งแรก โดยพระยาพิษณุประสาทเวช มีชื่อว่า“ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ได้รับการยกย่องให้เป็น ตำราแห่งชาติฉบับแรก ต่อมาเห็นว่าตำราเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงได้พิมพ์ตำรา
ขึ้นมาใหม่ ได้แก่ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2เล่ม และตำราแพทย์ศาตร์สังเขป 3 เล่ม
และได้นำมาเก็บไว้ที่ หอพระสมุดหลวง เรียกว่า ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงหรือตำราแพทย์ศาตร์สงเคราะห์ซึ่งยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
แพทย์แผนไทยในยุคปัจจุบัน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 9 มีการจัดตั้งสมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ได้ก่อตั้งขึ้นที่วัดโพธิ์ในกรุงเทพมหานคและได้แตกสาขาไปทั่วประเทศ ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่ดำเนินงานอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด มีการก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัยขึ้น ให้การอบรมศึกษาด้านการแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์มาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันแพทย์แผนไทยกับยาสมุนไพรกลับมามีบทบาทอีกครั้ง มีการบูรณาการเข้ากับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมีโรงพยาบาลนำร่องเรื่องการแพทย์แผนไทยนั่นก็คือ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมป์ สมเด็จพระเจัาภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดปราจีนบุรีตั้งอยู่เลขที่ 32/7หมู่12 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25000 และประชาชนชาวไทยเริ่มกลับมาให้ความสนใจการแพทย์แผนไทยและการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น
รวมถึงมีการนำมาสร้างเป็นละครที่แฝงความรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณและการใช้ยาสมุนไพรเป็นกระแสมาแรงให้คนยุคปัจจุบันตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องการแพทย์แผนโบราณมากขึ้นนั่นเอง
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat