- Lifestyle
เปิดตำนานนนางสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย ก่อนสาดน้ำชุ่มฉ่ำหัวใจ
By Sanook D Pipat • on Apr 12, 2019 • 1,731 Views
หากจะพูดถึงเรื่องสงกรานต์ คนส่วนมากก็จะนึกถึงความสนุกสนานในการเล่นสาดน้ำกันก่อน รวมถึงการรอคอยวันหยุดยาวเพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนาบ้านเกิดไปร่วมฉลองกับครอบครัว บางคนวางแผนการเดินท่องเที่ยว พักผ่อน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งปัจจุบันเทศกาลนี้ได้พลิกโฉมจากอดีตไปมากพอสมควร วันนี้เราขอพาทุกคนย้อนวันวานไปรู้จักกับตำนานดั้งเดิมของประเพณีสงกรานต์ ตลอดจนถึงความเชื่อแบบไทยๆ คติที่ตั้งให้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่
สงกรานต์ เป็นคำจากภาษาสันสฤตหมายถึง การก้าวขึ้นหรือการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ราศีใหม่(การเคลื่อนขึ้นของปีใหม่ตามความเชื่อของคนไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
-วันที่ 13 เมษายน คือ วันมหาสงกรานต์
-วันที่ 14 เมษายน คือ วันเนา
-วันที่ 15 เมษายน คือ วันเถลิงศก
ในอดีต ประเทศไทยนับถือเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ได้กำหนดให้ใช้ วันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่งก็คือวันสงกรานต์ ต่อมาคณะรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆเป็นสากลโลกส่วนวันสงกรานต์ก็ถูกให้ประกาศใช้วันที่ 13-15 เมษายนเป็นวันสงกรานต์แทน
ตำนานกำเนิดนางสงกรานต์
มีเศรษฐีคนหนึ่ง มั่งมีร่ำรวยมหาศาลแต่ไม่มีแม้บุตรจะสืบทอดตระกูลและมีบ้านใกล้กับนักเลงสุราขี้เมาที่มีลูก 2 คนมีผิวเนื้อดั่งทอง วันหนึ่งนักเลงขี้เมาเข้าไปด่าทอเศรษฐีว่า มีเงินทองมากมายไม่มีผู้สืบสกุลก็เสียเปล่า สมบัติที่มีก็ไม่มีประโยชน์ผิดกับชายขี้เมาที่มีบุตร 2 คนรูปงาม เศรษฐีได้ฟังดังนั้น จึงคิดอยากมีบุตรบ้าง จึงทำพิธีบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์และในที่สุดท่านเศรษฐีก็มีบุตรสมใจปรารถนา นามว่า ธรรมบาลกุมาร มีปัญญาเฉียบแหลม
ต่อมาท้าวกบิลพรหม ได้ยินชื่อเสียงเลื่องลือทางสติปัญญาของธรรมบาลกุมาร จึงคิดอยากลองทดลองภูมิปัญญาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน หากกุมารน้อยตอบปัญหาได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะตนบูชาและกุมารน้อยตอบปัญหาไม่ได้ก็ต้องเสียหัวเช่นเดียวกัน ต่อมากุมารน้อยแก้ปัญหา 3 ข้อนั้นได้สำเร็จ เมื่อท้าวกบิลพรหมแพ้แล้ว จึงเรียกลูกสาวทั้ง 7 ซึ่งเป็นหญิงรับใช้ของพระอินทร์ แล้วบอกกับลูกทั้ง7 ว่า เมื่อตัดศีรษะพ่อแล้ว ถ้าเอาวางบนพื้นดิน แผ่นดินก็จะลุกไหม้ ถ้าโยนขึ้นไปอากาศก็จะแห้งแล้ง โยนลงน้ำ น้ำท่าก็จะเหือดแห้ง จึงสั่งให้ลูกเอาพานมารองรับ เศียรบิดาได้แล้วก็นำแห่ไปรอบๆเขาพระสุเมรุ จากนั้นมาทุกๆหนึ่งปี ธิดาของท้าวกบิลพรหม จะหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรพระบิดาแห่ไปรอบๆเขาพระสุเมรุแล้วนำมาประดิษฐานที่เดิมและในแต่ละปี ธิดาทั้ง 7 ก็จะหมุนเวียนกันตามวันมหาสงกรานต์
- วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ นามทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร(ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จบนหลังครุฑ
- วันจันทร์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง(น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จบนหลังพยัคฆ์(เสือ)
- วันอังคาร นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัว อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จบนหลังวราหะ(หมู)
- วันพุธ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงหาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จบนหลังคัทรภะ(ลา)
- วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จบนหลังคชสาร(ช้าง)
- วันศุกร์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วย น้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงมหิงสา(ควาย)
- วันเสาร์ นางสงกรานต์นามมโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จบนหลังมยุรา(นกยูง)
ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพันที่มีต่อครอบครัวและคนรอบข้าง โดยใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันความหมายของความร้อนในฤดูร้อนนี้ รวมถึงเป็นวันแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ การรดน้ำขอพรจากญาติผู้ใหญ่ การทำบุญตักบาตร ก่อเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา นอกจากนี้ ในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี ยังเป็นวันพิเศษสุดในช่วงสงกรานต์ก็คือวันครอบครัวนั่นเอง ใครที่จะเดินทางไปหาครอบครัว ก็ขอให้เดินทางด้วยความปลอดภัย ไม่ดื่มขณะขับรถ มีสติในการใช้รถใช้ถนนด้วยความไม่ประมาท ถึงที่หมายปลอดภัย สุข สนุกสนาน สงกรานต์ปีนี้
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat