- Lifestyle
BTS บัตรโดยสารเที่ยวเดียวแบบใหม่ เปลี่ยนเพื่อสะดวกหรือเพิ่มความงง?
By Sanook D Pipat • on Nov 16, 2018 • 9,066 Views
เมื่อช่วงที่ผ่านมา รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ทดลองเปลี่ยนตู้ออกบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียวและบัตรโดยสารเที่ยวเดียวรูปแบบใหม่ โดยวัตถุประสงค์เพื่อรองรับสถานีรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการในอนาคต รวมถึงรองรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ที่จะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมนี้ด้วย แต่การปรับเปลี่ยนบัตรโดยสารใหม่ทำให้เกิดความยุ่งยากและเพิ่มความงงให้กับผู้ใช้งาน วันนี้เราเลยขอพาทุกคนมาดูกันว่า บัตรนี้ใช้ยังไง??
บัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียว : เป็นบัตรโดยสารที่ซื้อได้ที่ตู้กดเท่านั้น ไม่สามารถซื้อได้ที่ช่องแลกเหรียญหรือจุดเติมเงิน คิดอัตราค่าโดยสารตามจำนวนสถานี อัตราค่าโดยสาร 16 – 44 บาท ถ้าเป็นสถานีส่วนต่อขยายราคาจะเป็น 59 บาทบัตรประเภทนี้จะต้องอยู่ในสถานีไม่เกิน 120 นาที ถ้าอยู่เกินไม่แตะออกจะต้องเสียค่าเบี้ยปรับ และบัตรใช้ได้เฉพาะวันที่ซื้อเท่านั้น
ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบเก่า
ใช้แบบแถบแม่เหล็ก ลักษณะที่เป็นบัตรบันทึกข้อมูลที่มีรูตรงกลาง ออกจากตู้ออกตั๋วโดยสารอัตโนมัติที่เป็นแบบหยอดเหรียญและกดปุ่ม วิธีใช้เมื่อเข้าสถานีสอดเข้าแล้วรับบัตร เมื่อออกสถานีสอดเพื่อคืนบัตร
ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบใหม่
เป็นสมาร์ทการ์ดแบบบาง ตั๋วแบบใหม่จะออกจากตู้กดบัตรที่เป็นรูปแบบจอทัชสกรีน การเข้าสถานีให้แตะบัตรที่บริเวณจุดแตะเดียวกับบัตรแรบบิท และการคืนบัตรตอนออกให้สอดเหมือนเดิม
อาจจะฟังดูไม่ยุ่งยาก แต่ปัญหาอยู่ที่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ บัตรโดยสารทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ใช้งานร่วมกัน แต่ช่องแตะบัตรเข้าสถานีบางช่องไม่รองรับบัตรใหม่และบางช่องไม่รอบรับบัตรแบบเก่า ทำให้เวลาผู้ใช้ต่อแถวเข้าเพื่อแตะบัตรแล้วผ่านเข้าไปไม่ได้ ปัญหานี้ในชั่วโมงเร่งด่วนยิ่งทำให้แถวแตะบัตรเข้าสถานียาวเพิ่มขึ้นไปอีก ข้อแนะนำมีดังนี้
- สำหรับตั๋วโดยสารประเภทเที่ยวเดียว ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ เหนือช่องแตะบัตรจะมีป้ายบอกเลยว่าช่องนี้สำหรับบัตรแบบใหม่หรือแบบเก่า ให้สังเกตให้ดีก่อนเข้าไปต่อแถว จำให้ขึ้นใจว่า กดบัตรแบบใหม่ ให้แตะเข้า-สอดออก,บัตรแบบเก่าสอดเข้า-สอดออก
- บัตรโดยสารประเภทเติมเงินและบัตรแรบบิท สามารถแตะเข้าได้ทุกช่องไม่มีปัญหาการใช้งาน
[wonderplugin_video iframe=”https://www.youtube.com/watch?v=m4pnAngoito” videowidth=600 videoheight=400 keepaspectratio=1 videocss=”position:relative;display:block;background-color:#000;overflow:hidden;max-width:100%;margin:0 auto;” playbutton=”https://bsite.in/wp-content/plugins/wonderplugin-video-embed/engine/playvideo-64-64-0.png”]
ปัจจุบันบีทีเอส กำลังเปลี่ยนมาใช้ตู้ออกตั๋วโดยสารอัตโนมัติ โดยมีแผนติดตั้ง 200 ตู้ และตู้แบบรับธนบัตรอีก 50 ตู้ ครอบคลุมทุกสถานีภายในปี 2561 เพื่อเป็นการรองรับสถานีที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยขณะนี้อยู่ในแผนงานก่อสร้างได้แก่
- ส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ เปิดธันวาคม 61 นี้
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี
- โครงการรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง บีทีเอส ได้แนะนำให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนไปใช้บัตรโดยสารแบบเติมเงินหรือบัตรแรบบิท ที่เข้าได้ทุกช่องสะดวกกว่าและกำลังมีโปรโมชั่นลดราคาเที่ยวโดยสารละ 1 บาท และการซื้อแบบเติมจำนวนเที่ยวก็ราคาประหยัดกว่าด้วย
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat