- Lifestyle
ยาสามัญประจำบ้าน เรื่องธรรมดาสามัญที่คนมักมองข้าม?
By Sanook D Pipat • on Jan 30, 2019 • 2,240 Views
เชื่อว่าบ้านเกือบทุกบ้าน จะมียาสามัญประจำบ้าน ไว้ติดบ้านเสมอ อย่างน้อยๆ ก็จะมียาแก้ปวด ลดไข้ ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ แต่บางคนก็หลงลืมให้ความสำคัญกับยาสามัญประจำบ้าน บางคนยังใช้ยาแบบผิดๆ ถูกๆ วันนี้เราจึงรวบรวมเรื่องราวใกล้ตัวเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านมาให้ทุกคนได้รู้จักกัน
ยาสามัญประจำบ้าน เป็นชื่อเรียกกลุ่มยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน เป็นรายการยาที่จำเป็น ที่จะต้องมีไว้ติดบ้านเพื่อใช้ในการดูแลรักษา อาการป่วยเล็กๆน้อยๆเบื้องต้น ที่ไม่มีอาการรุนแรง สามารถใช้รักษาอาการได้เอง เช่น ปวดศีรษะ เป้นไข้ ไอ ท้องอืด น้ำร้อนลวก ของมีคมบาด เป็นต้น โดยยาประเภทนี้ สามารถซื้อหาได้เอง โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยจะมีฉลากยาคำว่า ยาสามัญประจำบ้านในกรอบสีเขียว ที่มีอักษรสามารถอ่านได้ชัดเจนและมีวันหมดอายุระบุอยู่ด้วย
ยาสามัญประจำบ้านที่มีควรติดบ้านไว้ รักษาเบื้องต้น
– ยาแก้ปวดท้อง สำหรับแก้อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ ยาธาตุน้ำแดง
-ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ, ยาขับลม,มหาหิงค์,ยาเม็ด ยาน้ำ ลดกรด
– ยาระบาย ได้แก่ ยาระบายแมกนีเซีย,มะขามแขก สำหรับยาแก้ท้องเสีย ที่ควรมีไว้ติดบ้าน เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส (ORS Oral rehydration
– ยาบรรเทาปวด ลดไข้ ยาเม็ดและยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้ ได้แก่ พาราเซตามอล (Paracatamol) 500มิลลิกรัม และขนาด 325 มิลลิกรัม,ยาแก้แพ้
– ยาบรรเทาอาการไอและขับเสมหะ ได้แก่ ยาแก้ไอขับเสมหะสำหรับเด็ก,ยาแก้ไอน้ำดำ- ยาสำหรับสูดดมแก้อาการวิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก ได้แก่ แอมโมเนียหอม,ยาดมแก้วิงเวียน,แก้คัดจมูก
– ยาแก้เมารถ เมาเรือ เช่น ยาไดเมนไฮดริเนท(Dimenhydrimate)
– ยาสำหรับโรคตา ยาหยอดตา ได้แก่ ซันฟาเซตาไมด์รักษาอาการตาแดง ตาอักเสบ
-ยาล้างตา ใช้ล้างเพื่อบรรเทา อาการระคายเคือง แสบตา
– ยารักษาแผล น้ำร้อนลวกไฟไหม้,ยาล้างแผล-ยาใส่แผลทิงเจอร์ไอโอดี,แอลกออฮอล์,น้าเกลือล้างแผล
การเลือกซื้อยาสามัญประจำบ้าน
ควรเลือกซื้อยาที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น ซึ่งจะมีเลขทะเบียนตำรับยาอยู่บนฉลากของยานั้น อีกสิ่งที่ควรดู วันเดือนปี วันสิ้นอายุ ของยานั้นๆอีกด้วย และยาที่ดีจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่น ยาเม็ดต้องไม่แตกหัก สีเรียบ ไม่มีจุดแปลกปลอมบนตัวยา ยาน้ำต้องไม่เป็นตะกอน เมื่อเขย่าแล้วตัวยาต้องกระจายสม่ำเสมอ
การเก็บรักษา
-แยกยาออกเป็นประเภทต่างๆ
-เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
-เก็บยาไม่ให้โดนแสงแดด
-อย่าเก็บยาที่ไม่เกี่ยวข้องไว้ในตู็ยาสามัญประจำบ้านเด็ดขาด
ข้อควรระวัง กลุ่มยาที่กล่าวมา ทุกกลุ่มยานั้น ล้วนมีวิธีการใช้ สรรพคุณที่แตกต่างกันไปแสดงไว้ บนฉลากข้างขวด ก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำและวิธีการใช้ให้ละเอียดและนำไปใช้ตามคำแนะนำเสมอ หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat