พลันเป็นข่าวฮือฮาในวงการธุรกิจ เมื่อมหาเศรษฐีระดับโลก ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในจีน “แจ๊ค หม่า” ตัดสินใจลาลงบัลลังก์ ขอเกษียณอายุประกาศวางมือจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท Alibaba พร้อมกับตัดสินใจมุ่งงานเพื่อสังคมโดยเฉพาะด้านการศึกษาผ่านมูลนิธิส่วนตัว
อาจจะพอบอกได้ว่า แจ็ค หม่า ไม่ได้เป็นแค่มหาเศรษฐี แต่ยังเป็น ไอโคนิค ของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เขาตัดสินใจวางมือจาก Alibaba Group Holding Ltd. ธุรกิจที่เขาสร้างขึ้นมาและมีมูลค่ามากที่สุดในเอเชียอีกด้วย
แจ็ค หม่า เคยให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV ว่า เขาวางแผนจะหันไปสู่วงการการศึกษา กลับไปสอนหนังสืออีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นรักแรกของเขาก่อนที่เขาจะเริ่มอาณาจักรอี-คอมเมิร์ซอันยิ่งใหญ่ เขาสร้างมูลนิธิในชื่อตัวเขาเอง โดยหยิบโมเดลส่วนหนึ่งมาจาก Bill Gates มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Microsoft Corp. ตามรายงานข่าวระบุว่า หม่า ในวัย 54 ปี วางแผนจะวางมือจาก Alibaba ในวันจันทร์นี้
ก่อนหน้านี้ หม่า เคยทิ้งตำแหน่ง CEO ของบริษัทไปเมื่อปี 2013 แต่ยังคงเหลือตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเอาไว้ และยังคงเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนบริษัทต่อหน้าสาธารณะ ซึ่งปัจจุบัน Alibaba มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 400,000 ล้านดอลลาร์
การวางมือของเขา สะท้อนถึงความมั่นใจในการบริหารจัดการในฐานะนักธุรกิจผู้ปฏิวัติวงการขยายฐานบริษัทไปไกลกว่าแค่อี-คอมเมิร์ซ แต่ยังเป็นการสร้างหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น ดิจิทัล เพย์เมนต์, คลาวด์ คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่วงการภาพยนตร์ “ผมมีความมั่นใจเต็มเปี่ยมในทีมของผม และในโครงสร้างของพาร์ทเนอร์ ซึ่งเต็มไปด้วยนักลงทุนที่ไม่เหมือนใคร” คำให้สัมภาษณ์ของ หม่า ที่บอกกับ Bloomberg
“ผมคิดว่าวันหนึ่ง ไม่ก็เร็วๆ นี้ ผมจะกลับไปสอนหนังสือ
นี่คือบางสิ่งที่ผมคิดและทำได้ดีกว่าการเป็นซีอีโอของ Alibaba”
หม่า กล่าวว่าเขาเห็นตัวเองเป็นแค่ คนที่บังเอิญเป็นผู้บริหารเท่านั้น เขาเคยเป็นคุณครูสอนภาษาอังกฤษมาก่อนที่จะเปลี่ยนตัวเองมาขับเคลื่อนโลกผ่าน Alibaba Group ซึ่งตั้งขึ้นมาได้เกือบ 20 ปีแล้ว
“ผมพร้อมแล้วสำหรับมูลนิธิ แจ๊ค หม่า นั่นคือทั้งหมดที่ผมเตรียมพร้อมมาตลอด 10 ปี
มีหลายสิ่งมากมายที่ผมสามารถเรียนรู้จาก Bill Gates
ซึ่งผมอาจจะรวยไม่ได้เท่าเขา แต่ผมสามารถรีไทร์ได้ก่อนเขา”
“การก้าวลงของ แจ็ค หม่า ไม่ได้ส่งผลต่อบริษัทมากนัก เพราะเขาไม่ได้มาดูแลธุรกิจทุกวัน เป็นแค่บางครั้งเท่านั้น และคนที่เป็นแกนหลักในการจัดการและรับผิดชอบส่วนใหญ่ก็คือ Daniel Zhang CEO ของ Alibaba Group (มารับตำแหน่งในปี 2013)” Steven Zhu นักวิเคราะห์จาก Pacific Epoch กล่าว
แจ๊ค หม่า เกิดเดือนกันยายน ปี 1964 ที่เมืองเก่าแก่ของจีน หางโจว และเริ่มต่อตั้ง Alibaba.com ในปี 1999 ในฐานะเป็นมาร์เก็ตเพลสให้กับธุรกิจ B2B โดยเริ่มต้นจากผู้ก่อตั้งทั้งหมด 18 คน ด้วยเงินเพียงแค่ 60,000 ดอลลาร์ เท่านั้น
ด้วยการบริหารที่ปราดเปรื่อง และการลงทุนจาก SoftBank Group Corp. ทำให้บริษัทก้าวกระโดด กลายเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคใช้มันเป็นแพล็ทฟอร์มในการสั่งซื้อของออนไลน์มหาศาล โดยปีที่แล้วพบว่ามีการส่งของสูงถึง 55 ล้านแพ็กเกจในหนึ่งวัน
อีกหนึ่งธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในเครือของเขาก็คือ Ant Financial แพล็ทฟอร์มออนไลน์ทางการเงิน ซึ่งรันระบบโมบายเพย์เมนต์ขนาดใหญ่ของจีน และยังเป็นกองทุนด้านการการเงินขนาดใหญ่อีกด้วย ซึ่งมีธุรกิจที่ใช้ระบบเพย์เมนต์นี้มากกว่า 870 ล้านยูเซอร์ รวมทั้งบริษัทอื่นๆ ในเครือ Alipay
“Alibaba เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีทีมที่แข็งแกร่งที่สุดในจีน และแม้ว่า หม่า จะก้าวลงจากไปแล้ว เขาก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในระดับท็อปของการวางกลยุทธ์ต่างๆ อยู่ดี” Brock Silvers นักวิเคราะห์จาก Kaiyuan Capital กล่าว และบอกว่า เป็นไปได้ที่ผู้ถือหุ้นอาจจะวิตกกับข่าวนี้ และก็หวังที่จะให้เขากลับมา
อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่จะโฟกัสเรื่องทางการศึกษาไม่ถือว่าเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์ของคนใกล้ชิดของ หม่า เพราะเขาพูดถึงเรื่องนี้บ่อยครั้งมาก ว่ามันสำคัญกับเขาแค่ไหน และในช่วงชีวิตหนึ่งที่เขาเป็นนักเรียนเขายังเคยสอบตกที่มหาวิทยาลัย China’s national ถึงสองครั้งด้วยกัน
“ผมไม่เคยถูกพิจารณาว่าเป็นนักเรียนที่ดี
แต่ผมพัฒนาตัวเอง ผมมุมานะในการเรียนตลอดเวลา
ดังนั้น ผมต้องการอุทิศเวลาทั้งหมดของผมที่มีให้กับสิ่งนี้”
ช่วงเวลาระหว่างที่เขานั่งตำแหน่งประธาน เขาช่วยไกด์ทิศทางการทำงานทั้งจากที่บ้านและต่างประเทศ และสิ่งยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับนักธุรกิจจีนก็คือ การเข้าพบกับผู้นำประเทศอย่าง Donald Trump หลังจากการเลือกตั้งของเขา
ในทุกๆ ครั้ง แจ๊ค หม่า แย่งซีนและขโมยสปอร์ตไลท์จากเวทีการประชุมต่างๆ ทั่วโลกที่เขาได้รับเชิญไปร่วมด้วย แม้กระทั่งช่วงเวลาตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ แต่ธุรกิจก็ต้องมาก่อนเสมอ
อย่างไรก็ตาม เขาก็เคยพูดหลายครั้งว่าเขาไม่มีความสุขเลยในการเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในจีน และมองว่าตัวเองแค่มีโชคในช่วงหลายปีที่ได้มีโอกาสพบบุคคลสำคัญของโลกหลายคน
และในฐานะที่เป็นคนที่เคยพบ 2 ผู้นำโลกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาแล้ว หม่า มองเห็นว่าโชคชะตาของเขาคือการเป็นนักบุญ เป็นทางเชื่อมสะพานของการแบ่งแยกโลก
“คนจีนและคนอเมริกา สิ่งหนึ่งทีเรามีเหมือนกันก็คือหัวใจรักและการเคารพซึ่งกันและกัน มันคือภาษาสากล การปฏิวัติเทคโนโลยีครั้งแรกเพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 และการปฏิวัติครั้งที่สอง ก็มาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนนี้ก็เกิดการปฏิวัติขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? มันควรจะเป็นสงครามที่ต่อสู้กับความจน โรคภัย และอื่นๆ” หม่า กล่าว
ถ้าเขาต้องออกจากบริษัท ที่เขาสร้างกับมือในอพาร์ทเมนต์เล็กๆ ที่หางโจว ก็ยังคงดูแลและควบคุมโดยพาร์ทเนอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารที่มีความสามารถและการตัดสินใจของบอร์ดผู้บริหารของบริษัทในเครือ
“มันคือระบบ ที่ผมคิดว่าผมได้มีส่วนร่วมสร้างมาตลอดกับทีม
และสิ่งนี้จะทำให้บริษัทก้าวไปได้อย่างตลอดรอดฝั่งแน่นอน” หม่ากล่าว
Source : Bloomberg.com