- Tech
เช็คด่วน!! 9 พฤติกรรมเคยชิน ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังติดโทรศัพท์มือถือขั้นหนัก
By Sanook D Pipat • on Nov 08, 2018 • 2,637 Views
โทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ไปแล้ว บางครอบครัวถึงกับขนาดใช้แท็บเล็ตและมือถือเปิดเลี้ยงลูกเลยทีเดียว แตรู้หรือไม่ว่าเทคโนโลยีนี้กำลังทำให้คนมีอาการเสพติดมือถืออย่างไม่รู้ตัว วันนี้เราเลยขอพาทุกคนมาเช็คอาการดูว่า คุณเข้าข่ายติดโทรศัพท์มือถือหรือไม่? ถ้าหากเช็คแล้วพบว่าตัวเองทำพฤติกรรมแบบนี้มากกว่า 5 ข้อ ให้พยายามหาวิธีเพลาๆการใช้งานมือถือลงบ้าง
1.วางมือถือไว้ข้างหมอน
คุณติดการใช้งานโทรศัพท์มือถือถึงขั้นวางมือถือไว้ข้างหมอนในเวลานอนหลับ และบางครั้งอาจจะหนักถึงขั้นไม่วางหมอนทับเพราะกลัวว่าจะไม่ได้ยินเสียงแจ้งเตือน ซึ่งพฤติกรรมนี้สมองเราอาจจะได้รับผลข้างเคียงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งผ่านโทรศัพท์มือถือ แม้จะมีผลออกมายืนยันแล้วว่าไม่เป็นผลต่อสุขภาพก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรทำคือไม่ควรวางมือถือไว้ข้างหมอนด้วยแล้วชาร์จแบตไปด้วยอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น อาจเกิดแบตระเบิด หรือไฟฟ้ารั่วไหล
2.ชาร์จมือถือแม้แบตจะเต็มแล้ว
อาการนี้มองเผินๆอาจจะเป็นการทำเพราะเคยชิน แต่ความจริงแล้วมันเป็นอาการกระวนกระวายใจอย่างหนึ่ง กลัวว่าโทรศัพท์จะมีแบตไม่พอ แม้แบตจะลดเหลือแค่ 70 เปอร์เซ็นต์ก็ชาร์จไฟ หรือบางคนหนักแค่ไฟลดลง 10% ก็ชาร์จไฟแล้ว อาการหนักสุดๆคือคนที่พกพาวเวอร์แบงค์ใช้งานไปชาร์จไปแม้แบตจะเต็มแล้วก็ตาม ผลเสียของการทำแบบนี้จะส่งผลต่ออายุแบตของโทรศัพท์ทำให้แบตเสื่อมไว อายุการใช้งานสั้นกว่าเดิม ควรใช้ไปแล้วเหลือ 20%ควรชาร์ต ทั้งนี้ใครที่ชาร์จไฟบ่อยๆควรจะตรวจเช็คสายชาร์จและที่ชาร์จด้วยว่าใช้งานได้ปลอดภัยหรือไม่ แตกหัก หรือสายรั่วหรือไม่ หากชำรุดควรทิ้งไม่ควรใช้เด็ดขาด
3.เปิดเสียง-สั่นแจ้งเตือนให้ดังตลอดเวลา
หูจดจ่ออยู่กับการฟังเสียงแจ้งเตือน หรือแม้แต่การตั้งสั่น เมื่อได้รับแจ้งเตือนเล็กๆน้อยๆก็จะรีบหยิบขึ้นมาดู ขั้นหนักคือระแวงคิดไปเองว่าได้ยินเสียงแจ้งเตือนแล้วหยิบขึ้นมาเช็คดู และเมื่อรู้ว่ามีแจ้งเตือนเข้ามาแล้วแต่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจจะหยิบขึ้นมาเช็คได้ เช่น ขับรถ ดูหนังอยู่ในโรงหนัง เข้าประชุม ก็จะเกิดอาการกระวนกระวายใจ ร้อนรุ่มอยากจะรีบออกมาเช็คแจ้งเตือนไวๆ
4.อย่างแรกและอย่างสุดท้ายของวัน
ก่อนเข้านอนคุณใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างสุดท้ายของวัน ระหว่างคืนที่ออกมาเข้าห้องน้ำก็ไม่ลืมที่จะหยิบมาเช็คด้วยไปพลางๆ ตื่นนอนหลังปิดนาฬิกาปลุกก่อนที่จะไปทำธุระส่วนตัว คุณก็เลือกที่จะหยิบมือถือขึ้นมาไถๆเช็คโซเชียลก่อน อาการนี้ลองปรับเปลี่ยนไปใช้หนังสือ อ่านจากกระดาษแทน อาจจะเป็นเรื่องสั้น ปรัชญาการใช้ชีวิตสร้างพลังบวกและคุณภาพชีวิตแทน ให้ก่อนนอนและตื่นนอนเป็นข้อมูลดีๆ เพื่อเริ่มต้นการตั้งทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตของวัน
5.ทุกครั้งที่มีเวลาว่างจะหยิบขึ้นมาดูตลอด
ไม่ว่าจะเป็นพักกลางวัน ทานข้าว ยืนรอรถบัส นั่งรอประชุม ระหว่างเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลาหลังเลิกงานตอนอยู่บ้าน ช่วงไหนที่ว่างคุณจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถูๆไถๆ ตลอดเวลา แม้ว่าเพิ่งจะวางมันไปเมื่อไม่ถึงสิบนาทีที่แล้วก็ตาม ควรจะแบ่งให้เป็นเวลาว่าช่วงไหนควรหยิบขึ้นมาดู และแบ่งเวลาไปกิจกรรมอย่างอื่น เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย การเขียนจดบันทึกสิ่งที่ผ่านมาในแต่ละวัน อีกข้อแนะนำคือควรจับปากกาหรือดินสอบ้าง เพราะปัจจุบันเราใช้แป้นพิมพ์ แป้นมือถือกันจนเคยตัวจนแทบจะเขียนอะไรนานๆไม่ได้แล้ว
6.เดินไปด้วยดูมือถือไปด้วย
สิ่งที่สร้างความหงุดหงิดให้กับคนรอบข้างคือคนที่เดินไปเล่นมือถือไป เดินดูซีรีย์ ดูยูทูปไปเรื่อย โดยไม่สนใจว่าขวางทางคนรอบข้างหรือเปล่า บางครั้งพฤติกรรมนี้ไม่ได้สร้างความรำคาญใจให้คนรอบข้างอย่างเดียวแต่ยังเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ด้วยเช่นเดินตกขอบถนน เดินตกบันได เดินโดยไม่ระมัดระวังจนมีรถมาเฉี่ยว หรือ มีคนไม่พอใจเดินกระแทกจนมือถือร่วงเสียหายได้ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้ไม่ควรเดินไปเล่นมือถือไปเพราะอาจจะทำให้เกิดการฉกชิงวิ่งราวได้ระหว่างทางที่เราเดินถือเล่น
7.ใจจะขาดเมื่อไปในที่ไม่มีสัญญาณ
เมื่อคุณเดินทางไปในที่สัญญาณมือถือเข้าไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นป่าเขา เกาะกลางทะเล คุณจะรู้สึกอยากออกจากพื้นที่นั้นโดยเร็วที่สุดและพยายามหาพื้นที่ที่คุณจะเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา หรือแม้กระทั่งเวลาเดินทางบนเครื่องบินก็ไม่ลืมที่จะซื้อ Wifi บนเครื่องบินที่มีราคาค่าบริการแพงก็พร้อมยอมจ่ายเพราะกลัวว่าอาจจะขาดการติดต่อกับที่ทำงานหรือครอบครัว วิธีแก้ปัญหานี้เบื้องต้น ก่อนออกเดินทางหรือเข้าสู่พื้นที่ไม่มีสัญญาณให้เราตั้งโพสต์บอกกล่าวไว้เลยว่า “”ขณะนี้อยู่บนเครื่องบิน ไม่สามารถติดต่อได้ตั้งแต่เวลา…….” หรือ” ตอนนี้อยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ อาจไม่สะดวกในการติดต่อ” เพื่อเป็นการบอกล่วงหน้าว่า ตอนนี้เราไม่สามารถตอบกลับได้จริงๆ
8.วนตรวจเช็คแจ้งเตือนจนครบทุกแอปพลิเคชั่น
ปัจจุบันในสมาร์ทโฟน หลายคนคงเล่นหลายแอปพลิเคชั่น ยิ่งเป็นวัยรุ่น วัยทำงานจะมีครบทุกโซเชียลเพื่อให้ทันกระแส ทวิตเตอร์ เอาไว้ส่องดราม่า/การจราจร ข่าวสาร,อินสตาแกรม ไว้ดูภาพที่เที่ยว ร้านอาหารและดารา,เฟซบุ๊คเอาไว้อัพเดทเรื่องราวของเพื่อนและกระแสสังคมรอบข้าง,LINE สำหรับการส่งข้อความติดต่อในที่ทำงาน ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนสนิท พฤติกรรมที่คุ้นเคยคือเราเริ่มต้นเช็คโซเชียลจนแน่ใจแล้วว่าไม่มีอะไรที่เราพลาดไป เมื่อเช็คจนครบแล้วก็วนไปเช็คแอปอื่นต่อ เมื่อครบทุกแอปบางครั้งก็ยังไม่หยุดกลับมาวนเริ่มต้นใหม่ หรือหาอะไรเปิดเลื่อนอ่านไปเรื่อยๆ
9.มีอาการผิดปกติ
ถ้าคุณรู้สึกปวดต้นคอจากการที่ก้มหน้าลงไปมองหน้าจอมือถือมากๆ นิ้วชี้กับหัวแม่มือเกิดอาการเกร็งสั่นจนบังคับมือไม่ได้ ตาแห้งและรู้สึกดวงตาเมื่อยล้า นั่นเข้าขั้นที่ว่าการใช้งานมือถือส่งผลต่อสุขภาพคุณอย่างแท้จริงแล้ว ควรหยุดเล่น หยุดพิมพ์ หยุดมองสักพัก หรืออาจะแบ่งเวลาไปเลยว่าหลังสามทุ่มจะไม่แตะมือถือ หัดให้เคยชินจนเป็นนิสัยหลัก ไม่เช่นนั้นถ้าเรายังฝืนทำพฤติกรรมซ้ำๆไปมากๆอาการเหล่านี้จะสะสมส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
ผลเสียต่อสุขภาพ : การเล่นมือถือก่อนนอนเป็นการรบกวนการหลับเพราะแสงสว่างของจอมือถือ ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนินที่ช่วยทำให้นอนหลับ ก่อให้เกิดความเครียดจากการรับรู้ข่าวสาร การคิดตามดราม่า และอารมณ์ร่วมต่อโลกโซเชียล แสงสว่างจากโทรศัพท์มือถือหากจ้องนานๆทำให้ตาเกิดอาการเมื่อยล้าและส่งผลต่อจอประสาทตา ด้านสรีระอาจเกิดอาการปวดต้นคอจากการก้มหน้ามองจอรวมถึงนิ้วล็อคหากใช้นิ้วพิมพ์เป็นเวลานาน
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat