Alain Wertheimer, CEO of Chanel กล่าวถึงเขาว่า ขอบคุณความคิดสร้างสรรค์อันอัจฉริยะของเขา ช่วงเวลาที่เขาอยู่กับเราเขาคือบุคคลสำคัญที่มีส่วนทำให้ House of Chanel ประสบความสำเร็จในระดับโลก การสูญเสียวันนี้ไม่ใช่เพียงแค่เราได้สูญเสียเพื่อนไป แต่เราได้สูญเสียนักสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งยุคไปแล้ว
ด้าน Bruno Pavlovsky, President of Fashion at Chanel กล่าวเสริมว่า จากแฟชั่นโชว์หนึ่งไปสู่แฟชั่นโชว์หนึ่ง จากคอลเลคชั่นหนึ่งไปสู่คอลเลคชั่นหนึ่ง Karl Lagerfeld ใส่ร่องรอยของตัวเองบนงานแห่งตำนานของ Gabrielle Chanel และสร้างประวัติศาสตร์ให้กับ House of CHANEL เอาไว้มากมาย สิ่งที่เราจะทำเพื่อเชิดชูบุคคลที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้ได้ในวันนี้ก็คือตามรอยเท้าของเขาไป ดั่งที่ Karl เคยกล่าวไว้ว่า “จงโอบกอดปัจจุบันและสร้างสรรค์อนาคตอย่างไม่หยุดยั้ง”
ส่วนผู้ที่จะสานต่องานของเขา The House of Chanel ยืนยันว่า Virginie Viard, Director of Chanel’s Fashion Creation Studio ผู้ซึ่งทำงานใกล้ชิดร่วมกับ Lagerfeld มากว่า 30 ปี จะเข้ามาช่วยตรงนี้ รวมทั้งมอบหมายงานให้กับ Alain Wertheimer เพื่อสร้างงานคอลเลคชั่นต่างๆ ต่อไป ดังนั้น อยากให้ทุกคนวางใจได้ว่าผลงานตำนานทั้งของ Gabrielle Chanel และ Karl Lagerfeld จะยังคงอยู่ต่อไป
“Never use the word ‘cheap’. Today everybody can look chic in inexpensive clothes (the rich buy them too). There is good clothing design on every level today. You can be the chicest thing in the world in a T-shirt and jeans — it’s up to you.”
“When I did H&M everyone said don’t do it and it worked. When I took over Chanel everyone said to me don’t do it, it’s dead, it doesn’t work, it worked. So I better not listen to people and follow my instincts.”
“Buy what you don’t have yet, or what you really want, which can be mixed with what you already own. Buy only because something excites you, not just for the simple act of shopping.”
“Fashion is a language that creates itself in clothes to interpret reality… it does not have to prove that it is serious. It is the proof that intelligent frivolity can be something creative and positive… [because], like poetry, fashion does not state anything. It merely suggests.”
กระแสตอบรับในฝีมือยังมีไม่หยุดยั้ง ปี 1982 Alain Wertheimer ประธานบริหารของ Chanel ได้มาทาบทามให้เป็นดีไซเนอร์ของแบรนด์ Lagerfeld เคยให้สัมภาษณ์กับ The New York Times ว่าทำไมถึงรับตำแหน่งนี้ “ใครๆ ก็บอกว่ามันน่ากลัว ใครมาอยู่ตรงนี้ต้องแย่และจะกลับมาใหม่ยาก แต่ผมว่ามันท้าทายดีออกนะ” และคาร์ลบอกกับนิตยสาร Marie Claire ว่า “อะไรที่ผมออกแบบ โคโค่คงไม่ชอบ แต่แบรนด์ก็เป็นแค่สัญลักษณ์ ผมต้องมาอัพเดทให้มันมีอะไรใหม่ๆ ผมทำในสิ่งที่เธอไม่ได้ทำไว้ ผมต้องทำสิ่งที่เป็นตัวเอง ผมต้องเอาตัวเองออกมาจากสิ่งที่ชาเนลจะเป็นหรือควรจะเป็น ต้องเป็นอะไรที่ต่างออกไป” เขาทำให้ผ้าทวีด, ไข่มุก, รองเท้าทูโทน และโลโก้ C ไขว้เป็นที่ฮิตฮอตและจดจำได้
นอกจากเขาเป็นดีไซเนอร์ยอดฝีมือให้กับแบรนด์ดังๆ หลายแบรนด์แล้ว ในปี 1984 คาร์ลได้เปิดห้องเสื้อในชื่อของตัวเอง Karl Lagerfeld ต่อมา ในปี 2005 เขาได้ขายกิจการให้กับ Tommy Hilfiger Group แต่ยังคงดูแลและเป็นหัวหน้าครีเอทีฟดีไซเนอร์
Planujecie weekendowe zakupy? Koniecznie wpadajcie do naszego salonu w Złotych Tarasach i sprawdźcie Levi’s® Print Bar! Skorzystajcie z niepowtarzalnej szansy na stworzenie personalizowanego t-shirtu. Czekamy na Was!
เพลงนี้มีเรื่องเล่า: We can be heroes, just for one day
Entertainment
เพลงนี้มีเรื่องเล่า: We can be heroes, just for one day
By Walrus • on Dec 13, 2018 • 3,222 Views
เขียนถึงเพลงนี้เพราะว่าเพิ่งดู American Horror Story : Freak Show ใน Netflix ไป มีช่วงนึงนักแสดงในหนังเล่นเพลงนี้ พอดูจบเลยไปเปิดดู MV ของต้นฉบับใน YouTube ต่ออีกรอบ ก็ดันเป็นช่วงเดียวกับที่ Stan Lee ผู้สร้างตัวละครฮีโร่ในจักรวาล Marvel เสียชีวิตลงพอดี เอาจริง ๆ ก็ทราบข่าวจากคอมเมนท์ใน YouTube ประมาณว่า R.I.P. Stan Lee ก็เลยทราบข่าวนี้
เพลงนี้เริ่มแรกในช่วงออกในเดือน กันยายน 1977 กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เมื่อเทียบกับความมีชื่อเสียงของ David Bowie แล้วในขณะนั้น
โดยก่อนหน้านี้เค้าประสบความสำเร็จอย่างเพลง Space Oddity (1969) กับตำนานของ Major Tom ผู้ท่องอวกาศ, Changes และ Life On Mars? กับอัลบั้ม Hunky Dory (1971), Starman ในบทบาทร็อคสตาร์ไบเซ็กชวลจำแลงจากอวกาศ Ziggy Stardust (1972), Rebel Rebel (1974), Fame ในอัลบั้ม Young American (1975) ที่มี John Lennon มาร่วมประพันธ์ และ Golden Years จากอัลบั้ม Station to Station (1976) เป็นต้น
ถึงจะมีผลงานที่สร้างสรรค์ระดับตำนานที่หลากหลายแนว แต่เพลง Heroes ก็ยังไม่ดังเปรี้ยงปร้างเท่าที่ควรจะเป็น แต่กลับกันหลังจากนั้น Heroes กลับกลายเป็น signature songs (เพลงลายเซ็นต์) ของ David Bowie เลยทีเดียว นำไปใช้บ่อยๆ ในงานแข่งกีฬา งานมอบรางวัล หรือ เพลงประกอบภาพยนต์ในหลายๆ เรื่อง อย่างในเรื่อง The Perks of Being a Wallflower (2012)
เนื่องจาก David Bowie เป็นศิลปินที่ยากจะจำกัดความ สร้างตัวตนไว้ได้หลากหลายแนว ประกอบกับความมีชื่อเสียงระดับซุปเปอร์สตาร์ไปแล้วนั้น ก็เริ่มมีสรุาและยาเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง จึงเดินทางไปที่ เบอร์ลินตะวันตก ในสมัยที่เยอรมันยังถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ที่มี “กำแพงเบอร์ลิน” กั้นขวาง เยอรมันตะวันออกเอาไว้ โดยไปพร้อมกับทีมงานและโปรดิวเซอร์คู่ใจอย่าง Brian Eno และ Tony Visconti
การเดินทางครั้งนี้ นัยนึงก็นอกจากจะวางรากฐานแนวดนตรี electronic music ของเขาแบบใช้ได้ในทศวรรษหน้ากันเลย แต่อีกนัยนึงก็เพื่อบำบัดการติดเฮโรอีนและการติดสุราเรื้อรังของเค้าเอง
บ่ายวันหนึ่งในเดือนกรกฏาคม 1977 ระหว่างที่ David Bowie อยู่ใน “Hansa Studio by the Wall” และมองออกไปนอกหน้าต่าง เห็นคู่รักคู่หนึ่งกำลังจูบกันตรงกำแพงเบอร์ลิน โดยมีทหารยามถือปืนยืนอยู่เหนือพวกเขา David Bowie ก็จุดประกายได้ไอเดียในการเขียนเพลงนี้ในทันที
เริ่มแรกในการแต่งเพลงนั้น ในภาคของดนตรีนั้นเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ขาดก็แต่เนื้อเพลงนี่หล่ะ ที่ยังแต่งออกมาไม่ได้ Brain Eno ได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากได้ฟังดนตรีแล้ว รู้สึกถึงความ ยิ่งใหญ่และความเป็นวีรบุรุษ (Grand and Heroic) แต่ในห้วงความคิดก็มีแต่คำว่า Heroes ติดอยู่ในหัวมากมาย แต่ประพันธ์มันออกมาไม่ได้สักที
เดิมทีคู่รักคู่นั้นเป็นบุคคลนิรนามตามคำนิยามของ David Bowie เรื่อยมา จนกระทั่งในปี 2007 (30 ปีให้หลัง) Tony Visconti ออกมายอมรับเองว่า เค้าคือชายหนุ่มที่จูบหญิงสาวข้างกำแพงเบอร์ลินในปี 1977 ที่ David Bowie เห็นนั่นเอง แต่หญิงสาวคนนั้นไม่ใช่เมียของ Tony Visconti นะครับ แต่ดันเป็นกิ๊กของเค้าแทนที่ชื่อว่า Antonia Mass นักร้องแจ๊สท้องถิ่นในเบอร์ลินนั่นเอง ซึ่ง Tony Visconti หลงเสียงเธอ จนต้องชักชวนมาร่วมงานในสตูดิโอมาเป็นนักร้องประสานเสียงในเพลง “Beauty And The Beast”
ในช่วงที่ David Bowie ต้องการใช้สมาธิในการเขียนเนื้อเพลง จึงขอร้องทุกให้ออกไปจากสตูดิโอก่อนสัก 2 ชั่วโมง หลังจากนั้น Tony Visconti และกิ๊ก Antonia Mass จึงชวนกันเดินไปพักใกล้ๆ กับกำแพงเบอร์ลินหน้าสตูดิโอ และบรรจงจูบกันตรงกำแพงนั่นเอง
“I can remember
Standing
By the wall
And the guns
Shot above our heads
And we kissed
As though nothing could fall.”
เพื่อรักษาชีวิตการแต่งงานของเพื่อน David Bowie กลัวว่าเมียเพื่อนจะสงสัยขึ้นมา เค้าจึงอำพรางคู่รักนี้ขึ้นมาว่ามาจากในจินตนาการของเค้า
เนื้อร้องพร้อม ดนตรีก็พร้อม ในส่วนของการบันทึกเสียง Tony Visconti ได้วางไมโครโฟนทั้งระยะใกล้ และไกล ซึ่งหาก David Bowie ร้องเสียงเบาๆ ไมโครโฟนตัวที่ใกล้จะบันทึกเสียงไว้ หากร้องเสียงดังขึ้นมา ตัวที่อยู่ห่างออกไปจะเริ่มบันทึกอัตโนมัติเช่นกัน เลยได้ฟังการบันทึกเสียงร้องแบบมิติใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน
จึงแนะนำให้ฟังเวอร์ชั่นในอัลบั้มมากกว่า ในความยาว 6 นาที David Bowie จะเริ่มร้องด้วยเสียงซอฟท์ๆ ก่อนที่จะเปล่งเสียงออกมาจนเหมือนตะโกนในตอนท้าย
ส่วนความหมายของเพลง Heroes นั้น คงถูกจำกัดความหมายถึงเพลงรัก รักที่ไม่อาจเป็นไปได้ (อย่างเช่น Tony Visconti กับ Antonia Mass ที่สุดท้ายแล้วมันก็ต้องจบลงอยู่ดี) แต่ก็ขอรักกันแบบว่าอาจจะไม่มีวันพรุ่งนี้ ขอรักกันวันนี้วันเดียวก็ยอม และจะไม่ยอมให้อะไรมาขัดขวางความรักวันนี้ได้เลย – Just for one day.
Berlin Period “ช่วงเวลาในเบอร์ลิน” เค้าได้สร้างผลงานออกมาถึง 3 อัลบั้ม ได้แก่ Low (1977), “Heroes” (1977) และ Lodger (1979) ที่มักจะเรียกกันว่า Berlin Trilogy “ไตรภาค เบอร์ลิน” แม้จะคุณค่ามหาศาลในแง่ของงานศิลปะ แต่กับในเชิงพาณิชย์แล้วล้มเหลวเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะมุ่งไปสู่ความสำเร็จในยุค 80’s อย่าง Scary Monsters (and Super Creeps) (1980) ที่แสดงให้เห็นถึงความสมดุลย์ระหว่าง “พาณิชย์” และ “ศิลปะ” มากขึ้น
ซึ่งหลังจากจบสงคราม ก็ถูกปลุกชีพโดย Ivan Hirst นายทหารและวิศวกรอังกฤษ ที่สำคัญอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ Beetle ก็ทำให้เศรษฐกิจเยอรมันดีขึ้นจากความพังพินาศของสงคราม
เจ้าหนู Herbie กับรุ่งอรุณใหม่จาก The New Beetle
จากนั้นการผลิตก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้งราวปี 1940 และปี 1955 รถหลายล้านคันถูกขับบนถนนในเยอรมัน โดยที่รูปแบบของรถคันนี้ถูกนำเสนอต่อหน้าชาวโลกในช่วงปี 1960 และในยุค 70 ผ่านภาพยนตร์ซึ่งถ่ายทอดบทโดยเจ้า Herbie รถเต่าในเรื่อง Love Bug, a racing car ที่เข้าไปอยู่ในใจของผู้ชมหลายคนและต้องการครอบครองเอาไว้สักคันหนึ่ง
แต่ก่อนหน้านี้ก็อาจะเรียกได้ว่ามันได้รับความนิยมสูงเช่นกันในช่วงปี 1960 ซึ่งเป็นช่วงต่อต้านหรือปฏิเสธวัฒนธรรม ซึ่งยกให้ the Beetle เป็นรถเล็กที่มีประสิทธิภาพ แล้วยังดีไซน์ได้งดงามอีกด้วย
มาถึงยุคปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่น่าจะคุ้นตากับดีไซน์ใหม่ที่เรียกว่า The New Beetle โดยออกมาในยุค 1990 ซึ่งทำตลาดถล่มทลายไปทั่วโลก รวมถึงตลาดสหรัฐฯ ด้วย โดยยอดขายเพียงปีเดียวมากกว่า 18,000 คันในปี 1999