- Travel
A Safe Journey EP.6 : Full Service Vs Low Cost บินต่างกันยังไง?
By Sanook D Pipat • on Oct 26, 2018 • 6,894 Views
นักเดินทางมือใหม่คงอาจเคยได้ยินคำว่าบินแบบ Low Cost หรือ Full Service
ซึ่งเป็นการบริการที่แตกต่างกันของสายการบิน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนเดินทาง วันนี้เราเลยขอนำความแตกต่างระหว่างการบริการทั้งสองรูปแบบนี้มาเล่าให้ฟัง เพื่อจะได้ตัดสินใจง่ายขึ้นว่า บินแบบไหนสะดวกสบายกว่า และคุ้มเงินในกระเป๋า
สายการบินประเภท Low Cost หรือ สายการบินราคาประหยัด
ราคาตั๋วถูกแต่ยังไม่รวมค่าบริการอื่นๆ หากอยากได้ต้องซื้อเพิ่ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท Premium Low-Cost : ยังมีบริการฟรีในบางอย่างอยู่เช่น โหลดสัมภาระได้ฟรี (ไทยไลอ้อนแอร์ โหลดสัมภาระใต้ท้องเครื่องฟรี 10 กิโลกรัม สำหรับเส้นทางในประเทศ / 20 กิโลกรัมสำหรับเส้นทางต่างประเทศ ),เลือกที่นั่งได้ฟรี,มีของว่างและน้ำเปล่า แจกเล็กๆน้อยๆ อีกประเภทคือ Ultra Low-Cost : ไม่มีบริการฟรี อยากได้อะไรต้องซื้อเพิ่ม มีแค่พาเราไปถึงจุดหมายปลายทางเท่านั้น
รูปแบบการให้บริการ
– ราคาตั๋วเครื่องบินที่ประหยัดกว่าสายการบินแบบ Full Service
– ประเภทที่นั่งจะไม่มีแบบ First class จะเป็นที่นั่งชั้นเดียวติดๆกัน หากบินลำใหญ่ก็อาจจะมีชั้นพรีเมี่ยมที่ต้องเสียค่าตั๋วเพิ่ม
– เหมาะสำหรับการเดินทางระยะสั้น เพราะเบาะและพื้นที่วางขาด้านหน้าแคบ
-โหลดสัมภาระใต้เครื่องต้องเสียค่าน้ำหนักเพิ่ม และถือขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 7 กิโลกรัม
– การเลือกที่นั่งจะเกิดจากการสุ่มของระบบ หากอยากได้ที่นั่งที่ต้องการต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม
– ไม่มีอาหารบริการ ต้องซื้อเพิ่ม
– ทุกบริการที่ซื้อเพิ่มสามารถจองออนไลน์ได้ตั้งแต่เราจองตั๋วเครื่องบินและจ่ายเงินเสร็จจบตั้งแต่ตอนนั้นเลย หรือแจ้งพนักงานตอนเช็คอินก็ได้
– ไม่มีห้องรับรองพิเศษ (VIP Lounge)
– ในประเทศไทย สายการบิน lowcost ทั้งในประเทศและต่างประเทศส่วนใหญ่ จะขึ้นลงที่สนามบินดอนเมือง ส่วนถ้าเป็น Lowcost ของต่างประเทศบางสายการบินเท่านั้นที่จะขึ้นลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ
รายชื่อสายการบิน Lowcost ในไทย
- นกแอร์ – บินเส้นทางภายในประเทศและต่างประเทศ เน้นประเทศเอเซีย โซนใกล้ๆ ใช้ระยะเวลาบินไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง
- ไทยแอร์เอเชีย – บินเส้นทางภายในประเทศและต่างประเทศ เน้นประเทศเอเซีย โซนใกล้ๆ ใช้ระยะเวลาบินไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง
- ไทยแอร์เอเชียเอกซ์ – บินเส้นทางต่างประเทศ ใช้ระยะเวลาบิน 4 ชั่วโมงขึ้นไป เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น
- ไทยไลอ้อนแอร์ – บินเส้นทางภายในประเทศและต่างประเทศ เน้นประเทศเอเซีย โซนใกล้ๆ ใช้ระยะเวลาบินไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง
- นกสกู๊ต – บินเส้นทางต่างประเทศ เป็นการร่วมทุนระหว่างนกแอร์ กับ Flyscoot บินระยะไกล 4 ชั่วโมงขึ้นไป เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น รวมถึงเส้นทางใกล้ๆ 2 ชั่วโมงไปสิงคโปร์ ก็จะใช้เครื่องที่จะบินต่อไปญี่ปุ่น แต่แวะพักเครื่องที่สนามบินชางงี เพื่อรับผู้โดยสารที่สิงคโปร์
- ไทยเวียดเจ็ทแอร์ – บินต่างประเทศ เน้นเชื่อมต่อกับสนามบินของเวียดนาม
สายการบินประเภท Full Service
จัดเป็น Premium airlines สังเกตง่ายๆเลยจะโปรโมทว่าบริการแบบ Full Service ส่วนใหญ่เป็นสายการบินแห่งชาติ เช่น การบินไทย,สิงคโปร์แอร์ไลน์,แอร์ฟรานซ์,โคเรียนแอร์,สิงคโปร์แอร์ไลน์,บริติชแอร์เวย์ ถ้าในไทยของการบินไทยจะเรียกว่า ไทยสมายล์ บินขึ้นลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ
[wonderplugin_video iframe=”https://www.youtube.com/watch?time_continue=1&v=KQotf1TGu4c” videowidth=600 videoheight=400 keepaspectratio=1 videocss=”position:relative;display:block;background-color:#000;overflow:hidden;max-width:100%;margin:0 auto;” playbutton=”https://bsite.in/wp-content/plugins/wonderplugin-video-embed/engine/playvideo-64-64-0.png”]
ราคาตั๋วโดยสารจะแพงกว่าสายการบิน Low Cost เพราะบวกค่าธรรมเนียมและค่าบริการบนเครื่องบินไปแล้ว ผู้โดยสารสามารถเลือกที่นั่งได้โดยไม่เสียเงินเพิ่ม ถ้าที่นั่งนั้นยังว่าง แต่ต้องอยู่ใน Class เดียวกัน หากบินลำใหญ่จะแบ่งการให้บริการเป็น first class,business class, Economy class การบริการและอาหารก็จะแตกต่างกันไปด้วย สามารถโหลดสัมภาระใต้เครื่องได้ฟรี น้ำหนักไม่เกิน 30 กิโลกรัม ที่นั่งบนเครื่องบินจะมี PTV หรือจอเล็กๆติดหน้าที่นั่ง สามารถใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ และเลือกซื้อสินค้าได้ มีหูฟังส่วนตัวและผ้าห่มให้ใช้
เมื่อเครื่องบินขึ้นแล้วพนักงานต้อนรับจะเริ่มบริการอาหาร ถ้าเป็นสายการบินที่มีระยะเวลาการเดินทางยาวนานก็จะมีบริการอาหารตามมื้อเลย มีให้เลือกมากกว่า 1 อย่าง ส่วนใหญ่จะเสิร์ฟเป็นเซ็ตมีอาหารหลัก เครื่องเคียง ขนมปังกับเนย ผลไม้และของหวาน ตลอดการเดินทางจะมีพนักงานคอยเดิน เสิร์ฟเครื่องดื่ม น้ำเปล่า น้ำอัดลม เบียร์ ชา กาแฟ ไวน์ สามารถขอกับพนักงานได้ตลอดเลย มีของทานเล่น ผ้าเย็น ผ้าร้อนให้บริการเพื่อเพิ่มความผ่อนคลาย ในบางสายการบินจะมีบริการ VIP Lounge ให้บริการที่สนามบินด้วย ถ้ามีตั๋วก็สามารถเข้าไปใช้งานได้เลย
(ภาพจากแฟนเพจ Thai Airways)
บทสรุป
ทราบความต่างของการบริการทั้ง 2 ประเภทแล้ว คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของผู้โดยสาร ว่าต้องการความสะดวกสบายขั้นไหน ถ้าจะเอาแค่เดินทางถึงที่หมายก็ใช้บริการสายการบิน Low Cost หรือถ้าใครคิดว่าบินแบบ Full Serviceไม่แพงไปกว่าการต้องไปซื้อบริการของ Low Cost เพิ่ม
เราแนะนำบินแบบนี้ดีกว่า ยิ่งเป็นการเดินทางระยะไกล 4-5 ชั่วโมงขึ้นไป จะสบายกว่ามาก สำหรับ Economy class ของ Full Service ความกว้างของเบาะไม่ได้ต่างจาก Low Cost เท่าไหร่ แต่ก็ไม่แน่นเกินไป
ทั้งนี้ ก่อนจะทำการจองตั๋วหากมีข้อสงสัยแนะนำให้สอบถามกับสายการบินโดยตรง เพราะแต่ละสายการบิน แต่ละเที่ยวบินให้บริการด้วยเครื่องบินรุ่นที่เหมาะสมกับระยะทางบินนั้นๆ การบริการและความสะดวกสบายก็จะต่างกันไปด้วย
Copyright© Bsite.In
ABOUT THE AUTHOR
Sanook D Pipat