จากความฮือฮาของดอกไม้ “มูราคามิ” ที่เพียงแค่ดอกเดียวแต่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,200-1,700 บาท และเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นจำนวนมาก
สำหรับ โดยดอกไม้ดังกล่าวมีชื่อว่า MURAKAMI At Roppongi Hills เป็นผลงานการออกแบบของ ศิลปินชาวญี่ปุ่นแนวป๊อปอาร์ตชื่อดังซึ่งบทความนี้เราคงไม่ขอพูดถึงผลงาน ‘ดอกไม้’ ที่เลื่องลือ เพราะสื่อหลายสำนักก็นำเสนอมากพอสมควรแล้ว
ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกในส่วนของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานกันดีกว่า เขาก็คือ Takashi Murakami ศิลปินมากความสามารถ เป็นทั้งนักวาดภาพ นักปั้น ศิลปินอิลลาสเตเตอร์ ภัณฑารักษ์ นักวิจารณ์ศิลปะ และผู้ริเริ่มวัฒนธรรม และเป็นอีกหลายเป็นที่คนอย่างเขาจะเป็นได้
ประวัติวัยเด็ก
ทาเคชิ มูราคามิ (Takashi Murakami) เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2506 ที่กรุงโตเกียว มีคุณพ่อเป็นคนขับรถแท็กซี่ คุณแม่เป็นแม่บ้าน แม่ของเขามีความสามารถด้านเย็บปักถักร้อย เธอเรียนการปักด้ายและออกแบบสิ่งทอ เธอคือผู้มีอิทธิพลด้านศิลปะต่อตัว มูราคามิ อย่างมาก
พ่อแม่ของเขายังมักจะพาเขาไปเยี่ยมชมงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์บ่อยๆ และถ้าเขาปฏิเสธเขาก็จะถูกบังคับให้เข้านอนโดยไม่ต้องกินข้าว การถูกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง ทำให้เขาเรียนรู้ที่จะคิดและเขียนอย่างรวดเร็ว ซึ่งทักษะนี้นั่นเองที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงในการเป็นนักวิจารณ์งานศิลปะต่างๆ
นอกจากการปลูกฝังให้รักศิลปะแล้ว อีกสิ่งที่ฝังหัวเขาเรื่อยๆ ก็คือเรื่องราวสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยสหรัฐฯ นำระเบิดนิวเคลียร์มาทิ้งบอบ์มใส่ญี่ปุ่น แต่แม้ว่าเขาจะเกิดไม่ทันในยุคนั้น แต่ก็พบเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดจากการทำลายโดยสงคราม นั่นจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่องานศิลปะชิ้นต่างๆ ของเขา
เติบโตมากับ 2 วัฒนธรรม
ในช่วงวัยเด็กของเขา ประเทศญี่ปุ่นสร้างสรรค์ความเป็นชาตินิยมขึ้นมากเพื่อทำการฟื้นฟูประเทศให้สู่สภาพเดิมโดยวัย โดยเฉพาะการนำวัฒนธรรมดั้งเดิมขึ้นของญี่ปุ่นขึ้นมา ทั้งกดดันแรงงานในการผลิตสินค้าให้ทัดเทียมกับทางฝั่งตะวันตกไปพร้อมกัน ความไฮบริดหรือการผสมผสานใน 2 วัฒนธรรมนี้ นี้สะท้อนออกมาเป็นกิจกรรมต่างๆ ของมูราคามิในวัยเด็ก เช่น การเข้าร่วมพิธีทรงเจ้าแบบชาวพุทธ การเข้าร่วมคอร์สการประดิษฐ์ตัวอักษร การเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของปรมาจารย์อย่าง Renoir (ศิลปินแนวอิมเพรสชันนิสม์ชาวฝรั่งเศส) และ Goya (ศิลปินแนวจินตนิยมชาวเสปน)
และแม้ว่าช่วยเล็กๆ เขาจะเติบโตมากับการผสมผสานทางวัฒนธรรม คือทั้งญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมและศิลปะวัฒนธรรมยุโรปสมัยใหม่ แต่ช่วงที่มีผลกระทบต่อเขามากที่สุดก็คือช่วงวัยรุ่น สิ่งนี้สามารถอธิบายได้ว่าทำไมงานหลักๆ ส่วนใหญ่ของเขาคือ การอุทิศตนให้กับผู้ชมที่เป็นกลุ่ม ‘โอตาคุ’ อีกหนึ่งวัฒนธรรมย่อยของความลุ่มหลงแบบจิตเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำผลงานแนวอนิเมะและมังงะ สิ่งนี้กลายเป็นการฟื้นกลับมาและกลายเป็นจุดเด่นของอนิเมะและมังงะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะปฏิเสธโลกแห่งความเป็นจริงหรือมีทักษะการเข้าสังคมที่อ่อนด้อย แต่ผลงานของเขากลับเข้าถึงวัฒนธรรมกลุ่มคนเหล่านั้นได้อย่างดี
ประวัติการศึกษา
- 1986 – BFA Tokyo National University of Fine Arts and Music, Tokyo, Japan
- 1988 – MFA Tokyo National University of Fine Arts and Music, Tokyo Japan
- 1993 – Ph.D. Tokyo National University of Fine Arts and Music, Tokyo, Japan
ขวัญใจชาวโอตาคุ
ว่ากันว่างานที่สร้างชื่อให้กับ “มูราคามิ” และถือเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของเขาในยุคแรกๆ เป็นงานประติมากรรมที่สร้างขึ้นจาก fiberglass ที่ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานที่มีชื่อว่า HIROPON และ My Lonesome Cowboy โดยในผลงานทั้งสองนี้ Takashi Murakami ได้นำลักษณะและบุคลิกของอนิเมะมาเป็นฐานในการสร้างงาน แต่ก็เกิดคำวิพากย์วิจารณ์อย่างมากถึงเรื่องการสัญลักษณ์ทางเพศอย่างโจ้งแจ้งมากเกินไป
- HIROPON เป็นรูปปั้นหญิงสาว ที่สูงหุ่นดีเกินมาตรฐานปกติ ในชุดรัดรูปที่มีขนาดเล็ก มีเพียงเนื้อผ้าบางๆ ที่ปกปิดสิ่งสงวนของผู้หญิงเอาไว้ แต่ความพีคของรูปปั้นตัวนี้คือการที่ออกแบบให้รูปปั้นผู้หญิงตัวนี้มีน้ำนมพุ่งออกมาเป็นสาย แล้วก็บิดเกลียวอย่างแน่นเหนียวประดุจเชือกเส้นโตของน้ำนม แถมยังใช้ ‘เชือกน้ำนม’ เส้นนี้กระโดดเหมือนเชือกอีกด้วย OMG!
- My Lonesome Cowboy เป็นรูปปั้นผู้ชาย กำลังใช้มือกุมองคชาติที่แข็งเกร็งและกำลังหลั่งน้ำอสุจิเป็นทางยาว โดยมีมืออีกข้างหนึ่งถือสายน้ำอสุจิที่กำลังพวยพุ่งขึ้นแกว่งไกวไปมา เหนือศีรษะประหนึ่งเป็นบ่วงบาศก์
เรื่องราวทางศิลปะอื่นๆ
ผลงานของมูราคามิ มักเป็นที่จดจำในเรื่องของสีสันและ ความบ้าคลั่ง และงานที่สร้างพลังความสดชื่น ผลงานใส่กรอบในแนวคอนเทมโพรารี่อาร์ตของเขามีราคาแพงหูฉี่เลยทีเดียว
ผลงานส่วนใหญ่ของเขาจะควบรวมป๊อปคัลเจอร์แบบญี่ปุ่น โดยอิงแอบกับความเป็นประเทศที่ร่ำรวยศิลปะและตำนาน แต่ในบางครั้งก็ฉีกทุกกฎเกณฑ์ที่มีด้วยการผสมผสานความแตกต่างได้อย่างยอดเยี่ยมระหว่างศิลปะชั้นสูงกับงานศิลป์แบบตลาดล่าง
เขามักถูกเปรียบเทียบกับ Andy Warhol ต้นตำรับป๊อปอาร์ต ในแง่ของการทำผลงานศิลปะให้เข้าถึงความเป็นธุรกิจได้ เท่าๆ กับที่คนงานในโรงงานผลิตสินค้าส่งตลาดแล้วขายมันออกมาเป็นงานศิลปะ
ผลงานของเขาหลายชิ้นมักจะถูกเย้ยหยัน ทว่ามันก็ถูกขายหมดเช่นกัน และยิ่งเขาลงเล่นมากเท่าไหร่ ตลาดศิลปะก็มักจะเพิ่มมูลค่าให้กับงานสุดแปลกตาของเขาให้เป็นที่ต้องการมายิ่งขึ้น
ผลงานด้านการวาดของเขาเป็นแรงบันดาลใจหักับรูปแบบวัฒนธรรมโอตาคุ ซึ่งตอกย้ำในเรื่องของความแปลก ความวิปริตของความน่ารักและไร้เดียงสา พอๆ กับที่ใส่ความรุนแรงไปด้วยกันได้
Source : Perrotin.com Theartstory.org Widewalls.ch
Credit ภาพ : Fashionista.com Creativetime